เทรดเดอร์มือใหม่มักมองหาเครื่องมือวิเศษ – ตัวบ่งชี้ตัวเดียวที่จะช่วยให้พวกเขาทำกำไรได้มากๆ พวกเขาอาจโชคดีไปได้ซักพัก แต่ในที่สุดเวทมนตร์ก็จะหายไป แล้วพอสูญเสียมากขึ้นเรื่อยๆ พวกเขาก็มักจะโทษตัวบ่งชี้ตัวนั้น และด้วยเหตุนั้นพวกเขาก็จะไปหาตัวบ่งชี้ตัวใหม่มา จากนั้นเหตุการณ์เดิมๆก็เกิดขึ้นอีกครั้ง
ไม่อยากจะบอกเลยว่ามันเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องที่มาจากความเข้าใจผิดในเรื่องของธรรมชาติของตัวชี้วัด ไม่มีตัวบ่งชี้ใดที่ถูกออกแบบมาเพื่อตีความหรือทำนายของตลาดได้สมบูรณ์แบบ ยิ่งไปกว่านั้นไม่มีตัวบ่งชี้ตัวไหนที่ถูกออกแบบให้มีความสัมพันธ์กับตัวบ่งชี้อื่นๆ แต่พวกมันก็ควรถูกนำมาใช้ร่วมกัน เพราะในบางสถานการณ์มันจะขัดแย้งกันเอง
Alexander Elder เป็นเทรดเดอร์ชื่อดังที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับกลยุทธ์การซื้อขายหลายเล่ม เขาได้คิดค้นวิธีการที่เรียกว่า “3 หน้าจอ” ซึ่งเป็นการใช้ตัวชี้วัดหลายตัวร่วมกัน แล้วกรองจุดอ่อนของพวกมันออกในขณะที่รักษาจุดแข็งเอาไว้ พูดสั้นๆได้ว่ามันให้วิธีการสามระดับในการตัดสินใจซื้อขาย มาดูกันดีกว่า
ข้อมูลทั่วไป
ขั้นแรกให้คุณเลือกกรอบเวลาที่คุณต้องการทำการซื้อขาย ไม่ว่าจะเป็นกรอบเวลาไหน คุณจะมีกรอบเวลาอีก 2 กรอบเพื่อเอาไว้ดูประกอบการพิจารณาความสัมพันธ์กับช่วงเวลาที่เลือก: กรอบเวลาที่ใหญ่กว่าที่ให้บริบทของตลาดที่กว้างขึ้น และกรอบเวลาที่เล็กลงที่ให้รายละเอียดของสถานการณ์ปัจจุบันและให้โอกาสคุณเลือกจุดเข้าที่แม่นยำ
ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการทำการซื้อขายในระหว่างวัน คุณอาจเลือกแผนภูมิ H1 เป็นพื้นที่หลักสำหรับการสังเกตการณ์, H4 เพื่อดูบริบททีใหญ่ขึ้นของตลาด และ M15 สำหรับหาจุดเข้า ซึ่งแต่ละกรอบเวลาจะถูกนำไปแสดงออกผ่านแต่ละหน้าจอดังต่อไปนี้
หน้าจอที่ 1
สมมติว่าเราอยากทำการซื้อขาย Platinum เราจะเปิด 3 แผนภูมิ: H4, H1 และ M15 ซึ่งในแผนภูมิ H4 ของ Platinum เราจะสังเกตเห็นว่าราคามีการขยับตัวลง จากนั้นราคาก็เข้าสู่พื้นที่การพักตัว จากข้อมูลดังกล่าวเราคิดว่าราคาจะพุ่งขึ้นต่อหลังการพักตัว ดังนั้นความคิดของเราคือควรจะซื้อตอนนี้และควรจะเข้าขายเมื่อราคาถึงระดับที่สูงขึ้น ตอนนี้เราต้องการตรวจสอบการสังเกตของเรา และยืนยันความถูกต้องกับตัวบ่งชี้ตัวอื่น เพื่อจุดประสงค์นี้เราจะเปิดเมนูตัวบ่งชี้แล้วแนบ MACD และ Stochastic Oscillator (ภาพด้านล่างแสดงวิธีการทำ)
เราเห็นว่า MACD แตะถึงระดับต่ำสุดใต้เส้นสัญญาณ (บริเวณที่เลือกตามภาพด้านล่าง) ในขณะที่ตัวบ่งชี้ Stochastic แสดงให้เห็นถึงเส้นไว (เส้นทึบ) ตัดข้ามเส้นช้า (เส้นประ) จากล่างขึ้นบนภายในโซน 0-20% โดยทั่วไปทั้งคู่จะถูกตีความว่าเป็นสัญญาณของสถานะขายมากเกินไปในตลาดและเป็นสัญญาณของการเข้าซื้อ ดังนั้นตอนนี้เราได้รับการยืนยันจากสองตัวชี้วัดว่าการตีความการตลาดของเรานั้นดูเหมือนจะถูกต้องและกลยุทธ์ของเรามีโอกาสสำเร็จสูง แล้วตอนนี้เราจะไปที่หน้าจอที่สองกัน
หน้าจอที่ 2
หน้าจอที่สองทำหน้าที่ยืนยันการสังเกตการณ์บนหน้าจอแรกอีกครั้ง และให้พื้นที่เข้าที่แม่นยำยิ่งขึ้น ในการทำเช่นนั้น เราจะเพิ่ม RSI ลงในหน้าต่างแผนภูมิ ภาพด้านล่างแสดงวิธีการเลือกมันมาใช้งาน
RSI เป็นเครื่องมือที่ดีซึ่งบ่งบอกถึงความแข็งแกร่งของตลาดอย่างแม่นยำและจังหวะที่ปลอดภัยในการเปิดตำแหน่ง เนื่องด้วยเราวางแผนที่จะเข้าซื้อเมื่อแนวโน้มมีการพักตัวในขาขึ้น เราจะพยายามหาจังหวะเปิดตำแหน่ง long ในจังหวะที่เส้น RSI ตัดข้ามระดับ 30% ซึ่งในกราฟ H1 ของ Platinum เราจะเห็นว่ามันตัดผ่านระดับขายมากเกินไป ซึ่งบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของกระทิง นี่คือการตรวจสอบครั้งที่สองด้วยกลยุทธ์การซื้อขายของเรา จากนั้นเราจะไปที่หน้าจอที่สามเพื่อเลือกระดับที่จะเปิด Long
หน้าจอที่ 3
หน้าจอที่สามไม่จำเป็นต้องมีตัวบ่งชี้ใดๆ ในแผนภูมิ M15 ของ Platinum เราจะเห็นรายละเอียดของคลื่นที่ถูกระบุว่าเป็นพื้นที่ที่จะเข้าจากแผนภูมิก่อนหน้านี้ เราแค่ต้องการยืนยันอีกครั้งว่าจะไม่มีการกลับตัวลงอย่างกะทันหันซึ่งจะทำลายสมมติฐานของเราเรื่องการพักตัวของตลาด เรารอให้ราคาพุ่งไปสูงกว่าระดับที่ระบุเอาไว้พร้อมกับเส้นค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ period 50 นั่นเป็นสัญญาณให้เราเข้าซื้อ เราอาจเปิดตำแหน่ง long หลังจากที่แท่งเทียนแท่งแรกปิดเหนือเส้นแนวต้านพร้อมตั้งจุด stop loss ไว้ระดับล่างสุดของแท่งเทียนขาลงแท่งก่อนหน้า
สรุป
ตัวอย่างที่กล่าวมาจะให้กลยุทธ์สำหรับการซื้อขายในแนวโน้มขาขึ้นที่มีแนวโน้มขาลงเล็กๆอยู่ภายใน กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าเราพยายาม “ขี่คลื่น”: ในตลาดขาลง เราซื้อที่ราคาต่ำๆและขายราคาสูงๆ และกลับกันสำหรับตลาดขาขึ้น
ตอนนี้เทรดเดอร์อาจมีคำถามว่า: จะทำอย่างไรถ้าราคามีการเปลี่ยนแปลงต่างไปจากที่เราคาดการณ์ไว้ คำตอบก็คือ: ไม่มีวิธีการซื้อขายใดที่สมบูรณ์แบบ การปรับปรุงวิธีการนี้ให้มีสมบูรณ์แบบเป็นหน้าที่ของเทรดเดอร์ที่มองหาสถานการณ์ที่สามารถนำมันไปใช้ได้ อีกอย่างเทรดเดอร์จะต้องมีความเข้าใจด้วยว่าสถานการณ์แบบไหนที่ไม่สามารถนำกลยุทธ์นี้ไปใช้ได้ แนวคิดของกลยุทธ์นี้ง่ายมาก: ใช้ตัวกรองหลายตัวกรองการตัดสินใจของคุณ และใช้หลากหลายตัวบ่งชี้ประกอบกันเมื่อคุณจะเปิดออเดอร์
[button color=”green” size=”large” type=”round” target=”_blank” link=”https://fbs.com/cabinet/registration/trader/?ppu=4553&account=cent&lang=en”]เปิดบัญชีกับ FBS[/button]
บทความนี้นำมาจากโบรกเกอร์ FBS
Share This Story, Choose Your Platform!
ตัวบ่งชี้ทางเทคนิค (Technical indicators) เป็นเครื่องมื […]
การมองหากลยุทธ์ Forex ที่เหมาะสมกับตนเองเป็นขั้นตอนที่ส […]
เราทุกคนต่างรู้ดีว่าคุณชอบ scalping มากแค่ไหน แนวทางการ […]