โบรกเกอร์ Forex คือบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนหรือนายหน้าที่จะคอยรับคำสั่งการซื้อขายคู่สกุลเงินของเทรดเดอร์และส่งคำสั่งที่รับมานั้นไปยังผู้ให้บริการสภาพคล่อง (Liquidity Providers) ที่เชื่อมต่อกับตลาด Forex

ตัวอย่างเช่น  ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายหุ้น  หากเทรดเดอร์ต้องการที่จะเล่นหุ้นก็ต้องเปิดบัญชีกับทางโบรกเกอร์หุ้น  เพื่อซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์

ในตลาด Forex ก็เช่นเดียวกัน  หากเทรดเดอร์ต้องการที่จะเทรด Forex  ก็ต้องเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ Forex เพื่อซื้อขายคู่สกุลเงิน  โบรกเกอร์ Forex ทำให้การเทรด Forex สะดวกมากขึ้นผ่านทางแพลทฟอร์มออนไลน์ของตน และยังช่วยให้เทรดเดอร์ดำเนินการเทรดในตลาด Forex ได้อย่างสะดวก รวดเร็วและทุกที่ที่เทรดเดอร์ต้องการ

โบรกเกอร์ Forex ทำงานอย่างไร

ในตลาด Forex นั้นก็จะเหมือนกันกับตลาดอื่น ๆ ที่ประกอบด้วยผู้ซื้อและผู้ขาย  อย่างการเทรดคู่สกุลเงินในตลาด Forex นั้น  เทรดเดอร์ (ลูกค้า) จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม (จ่ายเป็นค่าสเปรดของ Bid /Ask) ให้กับผู้ขาย (โบรกเกอร์ Forex) เพื่อให้เทรดเดอร์สามารถเข้าถึงการซื้อขายคู่สกุลเงินในตลาด Forex ได้  ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าโบรกเกอร์ Forex เป็นผู้ขายปลีกให้แก่เทรดเดอร์ด้วยการให้บริการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการสภาพคล่อง (Liquidity Provider)

ใครคือผู้ให้บริการสภาพคล่อง (Liquidity Provider) ที่สำคัญบ้าง

กลุ่มของผู้ให้บริการสภาพคล่อง Forex นั้น ประกอบไปด้วยธนาคารรายใหญ่ดังรายชื่อข้างล่างนี้  ซึ่งกลุ่มของธนาคารเหล่านี้เป็นผู้ควบคุมประมาณ 80% ของตลาด Forex

  • ธนาคารดอยซ์ (Deutsche Bank) – มีส่วนแบ่งทางการตลาด Forex 20%
  • ธนาคารยูบีเอส (UBS) – มีส่วนแบ่งทางการตลาด Forex 12%
  • ซิตี้กรุ๊ป (Citigroup) – มีส่วนแบ่งทางการตลาด Forex 11%
  • ธนาคารบาร์เคลย์ (Barclay’s Capital) – มีส่วนแบ่งทางการตลาด Forex 7%
  • ธนาคารแห่งสก็อตแลนด์ (Royal Bank of Scotland) – มีส่วนแบ่งทางการตลาด Forex 7%
  • บริษัทโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) – มีส่วนแบ่งทางการตลาด Forex 5%
  • ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) – มีส่วนแบ่งทางการตลาด Forex 5%
  • ธนาคารแห่งอเมริกา (Bank of America) – มีส่วนแบ่งทางการตลาด Forex 4%
  • ธนาคารเจพี มอร์แกน เชส (JP Morgan Chase) – มีส่วนแบ่งทางการตลาด Forex 4%
  • โบรกเกอร์เมอริล ลินช์ (Merrill Lynch) – มีส่วนแบ่งทางการตลาด Forex 4%

โบรกเกอร์จะได้รับราคาด้วยการส่งผ่านข้อมูลแบบเรียลไทม์จากผู้ให้บริการสภาพคล่องด้วยการเชื่อมต่อกับตลาด Forex ผ่านบริดจ์อินเตอร์เฟส ซึ่งจะทำให้โบรกเกอร์ได้รับรายการราคาอย่างต่อเนื่อง และนำราคาเหล่านี้ไปเสนอให้กับเทรดเดอร์แต่ละคน  โบรกเกอร์ Forex ขนาดใหญ่มักติดต่อกับผู้ให้บริการสภาพคล่องมากกว่า 1 ราย  ซึ่งจะช่วยให้โบรกเกอร์มีความยืดหยุ่นเมื่อดำเนินการคำสั่ง และสามารถเสนอราคาที่ดีขึ้นให้เทรดเดอร์ได้  ในขณะเดียวกัน โบรกเกอร์ Forex รายเล็กอาจมีผู้ให้บริการสภาพคล่องเพียง 1 หรือ 2 รายเท่านั้น

มาดูประเภทของโบรกเกอร์ Forex กัน

ในการเทรดคู่สกุลเงินในตลาด Forex นั้น  มีโบรกเกอร์ Forex พร้อมให้บริการเพื่อให้เทรดเดอร์สามารถเลือกเปิดบัญชีได้  แต่อย่างไรก็ตาม โบรกเกอร์เหล่านี้ไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด และมีรูปแบบการทำงานของการส่งคำสั่งเข้าสู้ตลาด Forex ที่แตกต่างกัน  ซึ่งคุณในฐานะที่เป็นเทรดเดอร์ควรเข้าใจก่อนที่จะเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์นั้น ๆ

โบรกเกอร์ Forex สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

  1. โบรกเกอร์ Forex แบบ Dealing Desk
  2. โบรกเกอร์ Forex แบบ Non-Dealing Desk

โบรกเกอร์ Forex แบบ Dealing Desk

เมื่อคุณเทรดกับโบรกเกอร์ Dealing Desk คำสั่งของคุณจะถูกส่งถึงโบรกเกอร์ Dealing Desk เป็นอันดับแรก จากนั้นตัวกลางจะพยายามหาราคาจากผู้ให้บริการสภาพคล่องต่าง ๆ ที่ต่ำกว่าคำสั่งของคุณ เมื่อหาราคาที่ต่ำกว่าได้แล้ว โบรกเกอร์จะซื้อแล้วขายราคานั้นให้คุณ หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ วางคำสั่งของคุณ

Market Maker คือใคร

Market Maker หรือที่รู้จักกันในชื่อ Dealing Desk คือ บริษัทนายหน้าที่ทำให้ราคาซื้อและราคาขายทรงตัวอยู่ได้ ให้ความคล่องตัวกับคู่ค่าเงินหนึ่ง ๆ และพร้อมที่จะซื้อหรือขายค่าเงินนั้นในราคาที่ถูกเสนอ บริษัทเหล่านี้มักได้รับการเสนอราคาสำหรับตราสารทางการเงินจากหลาย ๆ แหล่ง  โบรกเกอร์ Forex ส่วนมากทำหน้าที่เป็น Market Maker ซึ่งหมายความว่าส่วนใหญ่แล้ว โบรกเกอร์ Forex จะอยู่คนละฝั่งกับการเทรดของคุณ ในกรณีนี้เรียกว่า B-Book หรือก็คือโบรกเกอร์จะซื้อจากคุณเมื่อคุณเปิดออเดอร์ขาย (Sell) และพร้อมที่จะขายให้คุณเมื่อคุณเปิดออเดอร์ซื้อ (Buy)   หมายความว่า เมื่อคุณแพ้ พวกเขาจะชนะ และเมื่อพวกเขาแพ้ คุณจะชนะ  โบรกเกอร์ Forex ส่วนมากที่เป็น Market Maker มักเสนอราคาของคู่สกุลเงินแบบคงที่  ซึ่งทำให้คุณมีโอกาสเทรดในปริมาณที่คุณต้องการได้ตลอดเวลา  นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์หลายอย่างจากการเลือกเทรดผ่านโบรกเกอร์ Forex แบบ Market Maker นี้มักให้ประโยชน์ดังต่อไปนี้

ข้อดีของโบรกเกอร์ประเภท Market Maker

  • ให้ค่าเลอเวอเรอ (leverage) ที่สูง
  • แพลทฟอร์มการเทรดใช้ง่าย
  • ไม่มีค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติมจากการเทรด
  • ได้ข้อมูลกราฟโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เช่นเดียวกับข่าวสารด้านการเทรด

ข้อเสียของโบรกเกอร์ประเภท Market Maker

  • ค่าสเปรดคงที่
  • ค่าสเปรดสูง

โบรกเกอร์ Forex แบบ Non-Dealing Desk

หากคุณเทรดกับโบรกเกอร์ Non-Dealing Desk คำสั่ง Forex ของคุณจะถูกส่งไปยังตลาดทันที ดังนั้นหมายความว่าจะไม่มีการแทรกแซงเหมือนกับโบรกเกอร์แบบ Dealing Desk

โบรกเกอร์ Forex ประเภท No-Dealing Desk ไม่ส่งคำสั่งของลูกค้าผ่าน Dealing Desk กล่าวอีกนัยหนึ่งทางโบรกเกอร์ NDD จะไม่เทรดตรงข้ามกับลูกค้า เพราะพวกจะส่งออเดอร์ของลูกค้าเข้าตลาด Forex โดยตรงโดยที่พวกเขาจะไม่มีการแทรกแซง

โบรกเกอร์ NDD เป็นที่รู้จักกันในชื่อโบรกเกอร์ A-Book  โบรกเกอร์ประเภทนี้ได้การเสนอราคาจากผู้ให้บริการสภาพคล่องและคำสั่งทุกคำสั่งถูกส่งโดยตรงผ่านตลาดโดยไม่มีการแทรกแซงจาก Dealing Desk

โบรกเกอร์ Forex ประเภท No-Dealing Desk ได้กำไรจากการเทรดที่ถูกดำเนินการโดยเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นการเทรดหรือโดยการเพิ่มค่าสเปรดเหมือน Market Maker

ข้อดีของโบรกเกอร์แบบ NDD

  • ไม่มี Dealing Desk – ดังนั้นคำสั่งมีความโปร่งใส (A-Book)
  • ได้การเสนอราคาแบบเรียลไทม์จากกลุ่มผู้ให้บริการสภาพคล่อง Forex
  • ไม่มีการเสนอราคาใหม่ในการเทรด Forex

ข้อเสียของโบรกเกอร์แบบ NDD

  • โบรกเกอร์อาจเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นจากเทรด Forex แต่ละครั้ง
  • แพลทฟอร์มการเทรดอาจซับซ้อนกว่า

โบรกเกอร์แบบ No-Dealing Desk สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

โบรกเกอร์ No-Dealing Desk นั้นสามารถแบ่งเป็นประเภทย่อยได้อีก 3 ประเภทก็คือ

  • Straight Through Processing (STP)
  • Electronic Communication Network (ECN)
  • STP+ECN

โบรกเกอร์ Forex แบบ STP

โบรกเกอร์ STP คืออะไร คำตอบคือโบรกเกอร์ NDD นั่นเอง ความหมายของโบรกเกอร์ STP นั้นเป็นไปตามชื่อประเภท นั่นก็คือ เป็นโบรกเกอร์ที่มีระบบแบบประมวลผลโดยตรง (Straight Through Processing: STP) ที่นำคำสั่งของลูกค้าส่งตรงไปยังผู้ให้บริการสภาพคล่อง ซึ่งเป็นผู้ที่เข้าถึงตลาด Forex ได้ เมื่ออยู่ในโหมด STP การวางคำสั่งเพื่อปิดคำสั่งนั้นจะดำเนินการโดยอัตโนมัติโดยไม่มีการแทรกแซงที่ควบคุมโดยโบรกเกอร์ใด ๆ

ข้อดีของโบรกเกอร์ Forex ประเภท STP

  • ราคาที่เสนอมานั้นมีแนวโน้มผันผวน ซึ่งเป็นผลดีต่อกลยุทธ์การเทรดทำกำไรในช่วงสั้นๆ (Scalping Strategy)
  • คุณสามารถเทรดได้โดยการเข้าถึงราคาโดยตรงจากตลาด Forex ราคาที่ได้จึงเป็นราคา Bid และ ราคา Ask ที่ดีที่สุด
  • ค่าสเปรดต่ำ

ข้อเสียของโบรกเกอร์ Forex ประเภท STP

  • แพลทฟอร์มการเทรดซับซ้อนและไม่ได้ออกแบบมาเพื่อเทรดเดอร์รายย่อย

โบรกเกอร์ประเภท ECN

โบรกเกอร์ Forex ประเภท ECN คือออะไร  ECN ย่อมาจาก Electronic Communications Network คือ โบรกเกอร์ Forex ประเภทนี้ยอมให้คำสั่งของลูกค้าของตนโต้ตอบกับคำสั่งของผู้เข้าร่วมอื่น ๆ ในเครือข่าย ซึ่งก็คือ การเทรดซึ่งกันและกัน ผู้เข้าร่วมเหล่านี้ ธนาคาร เทรดเดอร์รายย่อย กองทุนบริหารความเสี่ยง (Hedge Fund) รวมไปถึงโบรกเกอร์อื่น ๆ จะเทรดซึ่งกันและกันโดยเสนอราคาขาย (Bid Quote) และ ราคาซื้อ (Ask Quote) ที่ดีที่สุดของตน โบรกเกอร์ประเภท ECN ทำให้ตลาดโปร่งใสต่อลูกค้ามากขึ้นโดยผ่าน Depth of Market (DOM) ซึ่ง Depth of Market นี้เป็นหน้าต่างข้อมูลที่แสดงตำแหน่งคำสั่งซื้อและคำสั่งขายของผู้เข้าร่วมตลาดรายอื่น ๆ ด้วยโบรกเกอร์ประเภท ECN การทำธุรกรรมทั้งหมดจะถูกดำเนินการโดยตรงในตลาด Forex ในโหมด No-Dealing Desk โดยปกติแล้ว โบรกเกอร์ประเภท ECN มักได้ค่าตอบแทนจาการเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อยตามปริมาณการเทรด

ข้อดีของโบรกเกอร์ Forex ประเภท ECN

  • เข้าถึงตลาด Forex ได้โดยตรงเพื่อเทรดแบบเรียลไทม์
  • เทรดเดอร์ใช้ราคา Bid และราคา Ask ที่ดีที่สุดจากตลาด Forex
  • ค่าสเปรดต่ำที่สุด ซึ่งอาจเป็น 0

ข้อเสียของโบรกเกอร์ Forex ประเภท ECN

  • แพลตฟอร์มการเทรดของโบรกเกอร์แบบ ECN ซับซ้อน เนื่องจากไม่ได้ออกแบบมาเพื่อเทรดเดอร์รายย่อย
  • โบรกเกอร์ประเภท ECN มักเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นจากทุก ๆ ออเดอร์ที่มีการเทรด
  • สัญญาณการเทรดและเครื่องมือการเทรดมีจำกัด เช่น หน้าข่าวสาร

 

อ้างอิงจาก Forex4you.com

Share This Story, Choose Your Platform!

โบนัสเทรดฟรี ไม่ต้องฝากเงิน

จะดีกว่าไหมหากได้เงินทุนมาเทรดฟรี ๆ กำไรก็สามารถถอนออกมาได้

บทความที่เกี่ยวข้อง